คณะสาธารณสุขศาสตร์

ปัญญาสาธารณสุข เสริมพลัง"ปัญญาของแผ่นดิน" ตามปณิธานของมหาวิทยาลัยมหิดล

วันจันทร์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

วัฒนธรรมองค์การ มหาวิทยาลัยมหิดล - พฤติกรรม-DOL

Determination   =   แน่วแน่ทำ  กล้าตัดสินใจ
s Commitment & Faith  = รักและมีศรัทธาในงาน มุ่งมั่น ทุ่มเททำงานที่ได้รับมอบหมาย หรือรับปากด้วยความจริงจังจนเรียบร้อยตามกำหนดทุกครั้ง โดยไม่ต้องติดตามทวงถาม
s Perseverance  =  ตั้งใจ  มานะ  อดทน  พากเพียร  ด้วยความมั่นคงทั้งทางจิตใจ  และร่างกายโดยไม่ท้อถอย เบื่อหน่ายหรือล้มเลิกความตั้งใจต่ออุปสรรค  และความยากลำบาก                                          
s Achievement Oriented & Creating Value  =  มุ่งสู่เป้าหมายความสำเร็จของงานที่รับผิดชอบ  โดยถือเอาคุณภาพ และมาตรฐานเป็นพื้นฐาน ใช้ความหมั่นเพียรและละเอียดรอบคอบในทุกขั้นตอนเพื่อสร้างคุณค่าเพิ่มให้แก่งาน   

Originality   =   สร้างสรรค์สิ่งใหม่
s Courageous to be the Best  =   กล้าคิด  ริเริ่ม  เสนอแนะโดยมุ่งให้ได้ผลงานอันเป็นเลิศเกินมาตรฐานหรือเป้าหมาย  แม้ต้องทำงานละเอียดขึ้น  หนักขึ้นบ้างก็ตาม                             
s Driving for Future  =   กำหนดเป้าหมายในอนาคตที่ท้าทาย  และดีกว่าที่ทำได้ในปัจจุบัน  แก้ไข  ปรับปรุงพัฒนาอย่างสม่ำเสมอให้บรรลุเป้าหมายนั้น                                 
s Novelty & Innovation    =  คิด ริเริ่ม สร้างสรรค์ ปรับปรุง วิธีการใหม่ๆ หรือสร้างผลงานวิจัยที่แตกต่างโดดเด่น  ช่วยให้การทำงานดีขึ้น หรือชี้นำสังคม

Leadership   =   ใฝ่ใจเป็นผู้นำ
s Calm & Certain        =  จิตใจสงบ  หนักแน่น  และมั่นคง  ทั้งในภาวะปกติ  และวิกฤติยากลำบาก  ไม่ประหม่า  ตื่นเต้น  หรือเกรี้ยวกราด  รวมทั้งฟัง  รวบรวมข้อมูล  ไตร่ตรองด้วยความรอบคอบก่อนดำเนินการ
s Influencing People   =  สามารถใช้เหตุใช้ผลประกอบกับวาทศิลป์ในการโน้มน้าว  จูงใจ  สื่อสารให้ผู้เกี่ยวข้อง เข้าใจ  รวมถึงเป็นแบบอย่างที่ดี  เพื่อให้ผู้อื่นเห็นด้วยและปฏิบัติตาม
s Visioning  =  ประมวลสถานการณ์  และข้อมูลปัจจุบันและอดีต  นำมากำหนดภาพอนาคต  หรือเป้าหมายที่ต้องการได้อย่างสมเหตุสมผลและท้าทาย

ที่มา : http://intranet.mahidol/op/orpr/GuideBook/guidebook.html

วัฒนธรรมองค์การ มหาวิทยาลัยมหิดล- พฤติกรรม-MAHI

พฤติกรรมในแต่ละองค์ประกอบของ Mahidol Culture

Mastery   =  เป็นนายแห่งตน
s Self  Directed   =   มีสติ  ควบคุมดูแลตนเองได้  สร้างวินัยในการดำเนินชีวิต  ควบคุมจิตใจ  และอารมณ์ให้ทำในสิ่งที่ถูกที่ควรไม่ต้องให้ใครบังคับ 
s Personal  Learning  =  รักการเรียนรู้ ขวนขวายศึกษาหาความรู้เพื่อพัฒนาตนเอง ให้รู้แจ้ง  รู้จริงอย่าง สม่ำเสมอ   และนำความรู้ ใหม่ๆ มาประยุกต์ปรับปรุงงาน
s Agility  =  กระตือรือร้น  ว่องไว  กระฉับกระเฉง  สนใจวิทยาการ  และการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น  คิดไตร่ตรอง  และนำเสนอแนวทางใหม่ที่เฉียบคมเหมาะสม
s System  Perspective  =  คิด  พูด  ทำอย่างเป็นระบบ  มีขั้นตอนอธิบายที่มาที่ไปสมเหตุสมผล ตรวจสอบได้
Altruism  =   มุ่งผลเพื่อผู้อื่น
s Organization  First   =  รัก หวงแหน และปกป้องชื่อเสียงของมหิดลเมื่อต้องตัดสินใจจะยึดประโยชน์ของ  ส่วนรวม  และองค์กรเหนือ ประโยชน์ของตนเอง  พร้อมเสียสละเวลา  และความสุขส่วนตัวเพื่อส่วนรวม    
s Customer-Focused Driven  =   สนใจ  เข้าใจ ความต้องการของ ผู้รับบริการ  และหาวิธีตอบสนองด้วยความรวดเร็วให้เกิดความพึงพอใจ และสร้างความประทับใจด้วยบริการ  และผลงานที่มีคุณภาพด้วยความเต็มใจ
s  Societal Responsibility    =   ตระหนักและลงมือดูแล  และรักษาผลประโยชน์ของส่วนรวม  และสังคมเสมือนของตนเอง

Harmony   =   กลมกลืนกับสรรพสิ่ง
s Valuing Workforce Member  =  เคารพ  ให้เกียรติผู้ร่วมงาน  โดยเปิดรับฟังความคิดเห็น  สื่อสารให้มีส่วนร่วม  และสร้างความผูกพัน  ไม่อคติ  และรักษาศักดิ์ศรี  หน้าตาของผู้ร่วมงาน            
s Empathy      =   ใส่ใจความรู้สึก  ทุกข์สุขของผู้อื่นรอบตัว  ร่วมดีใจ  หรือให้กำลังใจ  ชมเชย  ยกย่องรวมถึงแนะนำอย่างสร้างสรรค์จริงใจ    
s Unity  =   มีน้ำใจ  ร่วมมือ  ร่วมแรงร่วมใจ  อาสาเข้าช่วยเหลือด้วยความเต็มใจ  ยืดหยุ่น  ผ่อนปรน  ประนีประนอมทำให้ภารกิจสำเร็จลุล่วงด้วยความสามัคคี  ปรองดอง      
s Synergy    =   ผนึกพลัง  ประสานความแตกต่าง (เพศ วัย ความรู้ ฯลฯ) ให้เกิดความกลมกลืน นำจุดเด่นของทุกคนสร้างผลงานให้เหนือความคาดหมาย

Integrity    =    มั่นคงยิ่งในคุณธรรม
s Truthfulness  =  ซื่อตรง  ตรงไปตรงมา  ไม่หลอกลวงทั้งต่อตนเองและผู้อื่น  คิด  ไตร่ตรองก่อนพูด  ยึดมั่นรักษาคำพูดอย่างมั่นคงเสมอต้นเสมอปลาย 
s Moral & Ethic  =  ตั้งมั่นในความถูกต้อง  โปร่งใส  ไม่มีอคติ  วาระซ่อนเร้น  ถือมั่นในกรอบของจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ ไม่บิดเบือนเพื่อประโยชน์ผู้ใด                            
s Management by Fact  =  รวบรวม  วิเคราะห์  ตรวจสอบข้อเท็จจริงประกอบการคิด  พิจารณาและลงมือดำเนินการตามข้อเท็จจริงโดยหลีกเลี่ยงการอนุมาน
ที่มา : http://intranet.mahidol/op/orpr/GuideBook/guidebook.html                               

วัฒนธรรมองค์การ มหาวิทยาลัยมหิดล

จากอักษรคำว่า MAHIDOL ได้กำหนดเป็นค่านิยม และให้คำจำกัดความไว้ทั้ง ๗ ตัวอักษร
โดยมหาวิทยาลัยมีนโยบายที่จะนำความหมายทั้ง ๗ คำ นำมาเป็นพฤติกรรมที่พึงกระทำ  พร้อมทั้งปลูกฝังและเสริมสร้างให้เป็นวัฒนธรรมองค์การเกิดกับบุคลากรทุกหมู่เหล่าที่ปฏิบัติในมหาวิทยาลัยมหิดลตลอดไป


M - Mastery
เป็นนายแห่งตน
- a possession or display of great skill or technique
- skill or knowledge that makes one master of a subject
- the upper hand in a contest or competition
A – Altruism
มุ่งผลเพื่อผู้อื่น
- selflessness
- unselfish concern for other people’s happiness and welfare
H – Harmony
กลมกลืนกับสรรพสิ่ง
- is the way in which its parts are combined into a pleasant arrangement
- an interweaving of different accounts into a single narrative
- เช่น Harmony in diversity
I – Integrity
มั่นคงยิ่งในคุณธรรม
- honest and firm in moral principles (incorruptability)
- the state of being united whole (completeness)
- an unimpaired condition (soundness)         
D – Determination
แน่วแน่ทำกล้าตัดสินใจ
- the power or habbit of deciding definitely and firmly
O – Originality
สร้างสรรค์สิ่งใหม่
- novelty
- innovation
L – Leadership
ใฝ่ใจเป็นผู้นำ
- the quality of being a good at leading a organization
- the set of characteristics that make a good leader
ที่มา : http://intranet.mahidol/op/orpr/GuideBook/guidebook.html

บทเรียนการพัฒนาหลักสูตร วทม.ตามTQF-มคอ.2

วันนี้ไปชี้แจงหลักสูตรมา ทำให้ได้รู้แนวคิดดีๆ ในการพัฒนาหลักสูตรจากท่านผู้ทรงคุณวุฒิ หลายท่าน เรียงตาม มคอ.
เริ่มด้วย มคอ.2
สิ่งที่พึงกระทำ
หมวดที่ 1
1.  หัวข้อที่ 3  ชื่อสาขา หรือวิชาเอก ภาษไทยและภาษาอังกฤษ ต้องตรงกัน (ตามคำแปลจากราชบัณฑิตสถาน)
2. หัวข้อที่ 4  จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตรถ้ามีสาขาวิชาเอกมากกว่า 1 สาขา จำนวนรวมหน่วยกิตตลอดสาขาต้องเท่ากัน (อย่าพยายามให้ตลอดหลักสูตรรวมกันแล้ว แตะเลข 4)
3. จำนวนหน่วยกิตในวิชาบังคับไม่จำเป็นต้องเท่ากันทุกวิชาเอก
4. หัวข้อที่ 8 อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา ต้องเป็นอาชีพที่ตรงกับสาขาที่จบ  เช่น ถ้าไม่มีการสอนเป็นอาจารย์ อาชีพหลังสำเร็จจะระบุว่าเป็น "อาจารย์ในสถาบัน...." ไม่ได้ เพราะเป็นเพียงผลพลอยได้ เป็นต้น (วิชาในหลักสูตรต้องนำไปประกอบอาชีพได้)
5. หัวข้อที่ 9 ชื่อ-นามสกุล.......
    5.1  ตำแหน่งวิชาการ ให้ใส่ "ดร......" ด้วย ทุกคน ถ้าไม่ใช่ ดร.... จะไม่ตรงกับคุณสมบัติที่ สกอ. กำหนด ต้องเอาชื่ออก
    5.2  คุณวุฒิ  ต้องลำดับจากวุฒิสูงสุด ไล่ลงมา ให้เหมือนกันทุกคน ...= ความคงเส้นคงวาของการเขียน
    5.3  คุณวุฒิอาจารย์พิเศษ ต้องมีวุฒิตั้งแต่ ป.ตรี - โท - เอก  ถ้ามีวุฒิ ป.เอก ต้องมี ดร. หน้าชื่อด้วย
6. หัวข้อที่ 11.1 สาขาทั้งหมดให้เอามาต่อที่หัวข้อ 12.2 (เอามายำรวมกัน) และเขียนให้กระชับในภาพรวม อย่าเขียนเยิ่นเย้อ
หมวดที่ 2
1.  หัวข้อที่ 1  ข้อ 1.3 วัตถุประสงค์ของวิชาเอก
     ให้พิจารณาทุกข้อใหม่.... หากวัดไม่ได้ น่าต้องปรับการใช้คำ ให้เป็นภาษาที่วัดได้ เช่น คำว่า "ดุลยพินิจ"ในการจัดการ จะวัดอย่างไร....  คำว่า "ริเริ่มสร้างสรรค์" น่าจะปรับเป็น "วิธีการใหม่ๆ" เป็นต้น
2. หัวข้อ 2.6 
     2.1  เพิ่มรายรับ
     2.2  ข้อสังเกต 6 วิชาเอก มีนักศึกษารวมกันประมาณ 200 คน แต่ทำไมคิดงบประมาณ 5 คน
3. หัวข้อที่ 3.1.3 
   วิชาปรับพื้นฐาน
    3.1  นศ.ลงเรียนโดยไม่ได้หน่วยกิต เสียเงินฟรี
    3.2  รหัส เป็นเลข 4XX เป็นรหัสปริญญาตรี ป.โท ลงทะเบียน ป.ตรี  ไช่ไม่ได้
    3.3  รายละเอียดวิชาปรับพื้นฐาน และวิชาแกนซ้ำกัน เช่น วิชา PHBS402 เป็นต้น
 ข้อเสนอแนะ
วิชาปรับพื้นฐาน
    1)  ให้ไปอยู่ในวิชาเลือก  แล้วเป็นการบริหารหลักสูตรในการให้เรียนก่อนเปิดเทอม 1
    2)  รหัส เป็นเลข 4XX  ต้องแก้ไขให้เป็นเฉพาะของ ป.โท ด้วย รหัส 5XX หรือ 6XX
    3)  วิชาปรับพื้นฐานต้องเป็นวิชาทั่วไป ไม่ใช่เป็นวิชาชีพ เช่น วิชา PCH 603 การพัฒนาอนามัยชุมชนภาคสนาม เป็นต้น
    4)  หรืออาจจะทำเป็น test-out สอบก่อน ถ้าผ่าน ไม่ต้องลงทะเบียน
    5)  หรือจะผสมผสานเป็นวิชาเดียวกันกับ รหัส 6XX
    6)  * ในวิชาต่างๆ เช่น *PHAD623 เป็นต้น นั้น ให้เอา * ออก ถ้าจะบังคับเลือก ก็ให้เป็นวิชาบังคับ แล้วเพิ่มหน่วยกิตวิชาบังคับ และลดหน่วยกิต วิชาเลือกได้ ทั้งนี้ หน่วยกิตรวมหลักสูตรต้องไม่เกิน 39 หน่วยกิต
    7)  หมวดวิชาเลือกของแต่ละวิชาเอก ไม่ต้องแยกวิชาเอก เนื่องจากเรียนข้ามสาขาวิชาเท่านั้น
วิชาแกน
    8)  จากวัตถุประสงค์หลัก ข้อ1.2.4 "พัมนาตนให้มีคุณธรรม จริยธรรม...."  แต่ วิชาที่สอนจริยธรรม PHAD 516 จริยธรรมในระบบสุขภาพ ไปเป็นวิชาเลือก ทำให้การเรียนการสอนไม่ครบวัตถุประสงค์  หลักสูตรต้องย้ายมาเป็น "วิชาแกน" --- ลดหน่วยกิต ลง????
พรุ่งนี้มาติดตาม มคอ. 3