คณะสาธารณสุขศาสตร์

ปัญญาสาธารณสุข เสริมพลัง"ปัญญาของแผ่นดิน" ตามปณิธานของมหาวิทยาลัยมหิดล

วันจันทร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2554

Logic Model ตอนที่ 7

การเริ่มต้นโมเดลกับผลลัพธ์
การตัดสินใจว่าผลลัพธ์ใดที่ต้องการนั้น เป็นขั้นตอนแรกของ Model ที่มีประสิทธิผล เพราะ จะนำมาใช้ในการเลือกวิธีการที่ดีที่สุด ซึ่งในประสบการณ์ รูปแบบจะเริ่มต้นด้วยผลลัพธ์ และ ผลลัพธ์ (Result) ประกอบด้วย Outcome และ Impact ซึ่งจะเกิดขึ้นในเวลาต่อมา ในขณะที่ผลกระทบ (Impact)จะเป็นจุดสุดท้าย บางครั้งอาจจะมีความหมายเหมือนกับวิสัยทัศน์ outcomes จะเป็นตัวชี้วัดอย่างง่ายที่ผลลัพธ์จะมาถึง เราคิดว่าผลลัพธ์เป็นจุดเริ่มต้นในการเลือกกลยุทธ์(เกี่ยวกับทฤษฎีการเปลี่ยนแปลง) หรือกิจกรรม (กับโปรแกรมตัวแบบ) เป็นเรื่องสำคัญที่เราควรจะหลีกเลี่ยงการไปถึงจุดหมายก่อนกำหนดโดยเฉพาะสิ่งที่คุณจะทำ ในการเปลี่ยนแปลงการทำงาน การออกแบบโปรแกรม หรือการแก้ปัญหา ผลลัพธ์จะเกิดขึ้นในไม่ช้าและสิ่งเหล่านี้จะใช้เวลามากพอที่จะช่วยในการตัดสินใจวิธีการปฏิบัติที่ดีที่สุด
ประชาชนส่วนใหญ่มักจะบ่นด้วยความโกรธที่งานของพวกเขาเป็นงานที่เน้นกิจกรรม สิ่งที่ต้องคำนึงถึง คือ เวลาและแรงที่ถูกใช้ยังขาดในความชัดเจนของผลลัพธ์ที่ตั้งใจ Logic Model สามารถจัดเป็นหมวดหมู่ได้ เพราะ Logic Model สร้างความเชื่อมั่นและช่วยสร้างวิสัยทัศน์การปฏิบัติงาน และทำสิ่งคาดหวังให้ชัดเจน ถึงแม้ว่าตัวแบบและการสร้างตัวแบบผู้มีส่วนได้ส่วนเสียสามารถบ่งชี้กลยุทธ์/กิจกรรมที่จะนำไปสู่การค้นหาผลลัพธ์ และสิ่งนี้จะมีค่าน้อยลงถ้าผลลัพธ์เป็นแค่เพียงผลพลอยได้

การสร้างทฤษฎีตัวแบบการเปลี่ยนแปลง (Building a Theory of Change Model)
การเริ่มสร้าง
Logic Model สามารถใช้ได้กับหลายวัตถุประสงค์ ซึ่ง logic model มี 2 ประเภทพื้นฐาน คือ ทฤษฎีของการเปลี่ยนแปลงและตัวแบบแผนงาน (theory of change and program model) ความเข้าใจในประเภทของ logic model เป็นสิ่งที่สำคัญที่จะทำให้เกิดการพัฒนาและการนำไปใช้ประโยชน์ ผลจากการเลือกใช้ตัวแบบ สามารถอธิบายได้กว้างๆและเป็นการอธิบายแนวคิดที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงหรือรายละเอียดการปฏิบัติงานโดยมีองค์ประกอบที่จำเป็นเกี่ยวกับ การออกแบบ การวางแผน และการบริหารจัดการ มีความเป็นไปได้ที่จะเริ่มจากแผนงานตัวแบบเหตุผล (program logic model) หรือทฤษฎีตัวแบบการเปลี่ยนแปลง (theory of change model )
เราเชื่อว่าสิ่งที่สำคัญอยู่ที่ตัวแบบแผนงานซึ่งจะต้องควบคู่กับ ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงเสมอ เพราะการยึดสมมติฐานในทฤษฎีการเปลี่ยนแปลง จะเป็นคุณค่าพื้นฐานสำหรับแผนดำเนินงานและทำให้เกิดความสำเร็จ สมมติฐานจะต้องมีความสอดคล้อง และเป็นทางเลือกหลักที่จะทำให้เกิดการพัฒนา และการเลือกใช้กลยุทธ์ที่ทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ต้องการ เมื่อสมมติฐานเป็นหลักฐานเชิงประจักษ์แล้วจะเกิดความสอดคล้องระหว่างความเป็นเหตุเป็นผลและความตรง ซึ่งจะทำให้ความสำเร็จเกิดขึ้นได้ ความรู้ที่เชื่อถือได้ ทฤษฎี การวิจัย การปฏิบัติงานและ/หรือวรรณกรรม เป็นสิ่งจำเป็นที่ทำให้เกิดตัวแบบที่ดี