คณะสาธารณสุขศาสตร์

ปัญญาสาธารณสุข เสริมพลัง"ปัญญาของแผ่นดิน" ตามปณิธานของมหาวิทยาลัยมหิดล

วันอังคารที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2553

Logic Model ตอนที่ 6

Logic model เป็นแกนหลักของ...

การวางแผน (Planning) Logic model ทำออกมาเพื่อเป็นตารางปฏิบัติงานและกระบวนการเพื่อใช้เป็นสะพานเชื่อมระหว่างคุณอยู่ที่ไหนและคุณต้องการที่จะไปที่ไหน มันเป็นโครงสร้างที่ทำไว้เพื่อให้เข้าใจได้ชัดเจนขึ้นถึงสถานการณ์ที่ที่จะขับเคลื่อนไปตามความต้องการจากจุดเริ่มต้น การสิ้นสุดที่ออกแบบไว้ และวิธีการลงทุนซึ่งถูกเชื่อมโยงกับกิจกรรมกับประชาชนกลุ่มเป้าหมายเพื่อที่จะไปให้ถึงผลลัพธ์ที่ต้องการ เราพบว่า Logic model มีประโยชน์สำหรับการวางแผนบริหารอย่างกว้างๆ เช่นเดียวกับการออกแบแผนงานที่เฉพาะเจาะจง

“การวางแผนเป็นเหตุให้เกิดการกระทำเช่นเดียวกับการบริหารจัดการแผนงานหรือทำแผนภูมิเป็นเหตุให้เกิดนโยบาย, ซึ่งโดยทั่วไปหมายถึงลักษณะหรือประเภทของ Logic model” (Millar, Simeone, Carnevale, 2001, p. 73 )

การบริหารจัดการแผนงาน (Program Management) Logic model แสดงให้เห็นการเชื่อมโยงระหว่างทรัพยากร กิจกรรมและผลลัพธ์ ซึ่งเป็นพื้นฐานสำหรับการพัฒนาที่มีการบอกรายละเอียดของแผนการบริหารจัดการที่มากขึ้น ในระหว่างการลงมือปฏิบัติ Logic model จะใช้อธิบายแนวทางและการควบคุมกำกับการปฏิบัติการต่างๆไว้ ทั้งกระบวนการและบทบาทหน้าที่ Logic model นี้ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการโดยเป็นตารางในการควบคุมกำกับให้ตรงตามแผนที่วางไว้

การประเมินผล (Evaluation) Logic model เป็นก้าวแรกในการประเมินผล มันจะช่วยในการพิจารณาว่า เมื่อ ไหร่และอะไรที่จะประเมิน ดังนั้นการประเมินทรัพยากรจะถูกใช้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล จากการประเมินเราจะทดสอบและพิสูจน์ความเป็นจริงของทฤษฎีแผนงาน – เราจะเชื่อได้อย่างไรว่าแผนงานนี้จะใช้งานได้ Logic model จะช่วยให้เรามองเห็นกระบวนการที่เหมาะสมและการวัดผลลัพธ์ที่ชัดเจนขึ้น บางคนคิดว่า Logic model เป็นรูปแบบการประเมินผลหรืออาจเป็นเผลมาจากมีการใช้ในการประเมินผลกันอย่างแพร่หลาย ซึ่ง Logic model ไม่ใช่รูปแบบการประเมินผลแต่จริงๆแล้ว มันช่วยในการประเมินผลเท่านั้น

การติดต่อสื่อสาร (Communication) การติดต่อสื่อสารเป็นกุญแจสำคัญที่จะประสบความสำเร็จและช่วยให้สำเร็จ โดยการนำเสนอ ที่เรียบง่ายและชัดเจนจะช่วยสื่อถึงแผนงานและการเริ่มต้น การจัดบุคลากรเงินทุนของแผนงาน หรือผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นๆของแผนงานด้วย

วันพุธที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2553

Logic Model ตอนที่ 5

“Logic model” คืออะไร
ในส่วนนี้คุณจะรู้จัก Logic model สมบูรณ์ขึ้น เรียนรู้ศัพท์ Logic model ส่วนประกอบที่สำคัญของ Logic model บุคคลที่นำ Logic model ไปใช้ สิ่งที่พิเศษไปกว่านั้น คุณจะได้รู้ว่า Logic model มีประโยชน์ต่อแผนงานในการวางแผน ลงมือปฏิบัติ ประเมินผลและการติดต่อสื่อสาร คุณมีโอกาสที่จะฝึกใช้ศัพท์ทาง Logic model เช่น inputs–outputs – outcomes และ impacts ดังนั้นคุณสามารถเข้าใจถึงความแตกต่างของแนวคิดเหล่านี้ คุณจะใช้เวลาในการดูรายละเอียดของ 6 องค์ประกอบที่สำคัญของการพัฒนา Logic model ซึ่งได้แก่ สถานการณ์ (Situation) ซึ่งช่วยให้เราจัดลำดับความสำคัญและเป็นรากฐานของ Logic modelอื่น และมี ปัจจัยนำเข้า(inputs)ผลผลิต(outputs)ผลลัพธ์(outcomes) เงื่อนไขแห่งความสำเร็จ(assumptions) และปัจจัยภายนอก (external factors) คุณมีโอกาสที่จะได้ฟังจากคนอื่นเกี่ยวกับ การนำ Logic model ไปใช้ในงานของเขาด้วย

โปรดสละเวลาเพียงเล็กน้อยในการดูหัวข้อว่าเราจะพูดถึงอะไร
Logic model คืออะไร
A Logic model
• คือ ภาพง่ายๆ ของแผนงาน การริเริ่มหรือการทดลองที่จะส่งผลไปถึงสถานการณ์ที่กำหนด
• แสดงความสัมพันธ์อย่างมีเหตุผลระหว่างทรัพยากรที่ลงทุนไป กิจกรรมที่เกิดขึ้น และผลลัพธ์ที่เป็นผลประโยชน์หรือผลลัพธ์ที่เปลี่ยนแปลงไป
๏ บางคนเรียกว่า “ทฤษฎีแผนงาน” (Weiss, 1998) หรือทฤษฎีกิจกรรมของแผนงาน (Patton, 1997) เป็นรูปแบบที่น่าเชื่อถือ มีเหตุผลว่าแผนงานนี้เกี่ยวข้องกับงานอย่างไร (Bickman, 1987, p. 5)
๏ แสดงให้เห็นถึงรากฐานของการหมุนเวียนของแผนงานหรือการริเริ่ม (Chen, Cato & Rainford, 1998-9; Titcomb, 2002)
• เป็นแกนหลักของการวางแผน การประเมินผล การบริหารจัดการแผนงานและการเชื่อมโยงสื่อสารของแผนงาน
๏ บางคนคิดว่า Logic model ใช้ประโยชน์เพียงแค่ประเมินผล เท่านั้น เราพบว่ามันมีประโยชน์ในการวางแผนงาน การออกแบบแผนงาน การบริหารจัดการแผนงานและการติดต่อสื่อสารด้วยเช่นกัน

วันอังคารที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2553

Logic Model ตอนที่ 4

Logic model เริ่มใช้แพร่หลายที่ศูนย์พัฒนาแผนงาน University of Wisconsin-Extension ซึ่งแสดงให้เห็นลำดับของกิจกรรมที่อธิบายรายละเอียดของโครงการ และวิธีการเชื่อมโยงจากสิ่งที่ลงทุนไปยังผลลัพธ์ที่ต้องการ โดยมี 5 องค์ประกอบหลักที่อธิบายไว้ในแผนปฏิบัติการนี้
1.ปัจจัยนำเข้า (inputs) ได้แก่ ทรัพยากร ปัจจัยสนับสนุน การลงทุน ที่ใช้ในแผนงานนี้
2.ผลผลิต (outputs) ได้แก่ กิจกรรม บริการ เหตุการณ์และผลผลิตที่มีไปถึงบุคคลที่มีส่วนร่วม หรือที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย
3.ผลลัพธ์ (outcomes) ผลหรือการเปลี่ยนแปลงที่มีต่อบุคคล กลุ่ม ชุมชน หน่วยงาน องค์การหรือระบบ
4.เงื่อนไขแห่งความสำเร็จ (assumptions) หมายถึง ความเชื่อเกี่ยวกับแผนงานรวมถึงบุคคล สิ่งแวดล้อม และวิธีการที่เราคิดว่าจะทำให้แผนงานนี้ดำเนินไปได้
5.ปัจจัยภายนอก (External Factors) หมายถึง สิ่งแวดล้อมที่อยู่นอกเหนือจากแผนงานนี้ รวมถึงความหลากหลายของปัจจัยภายนอก ที่มีอิทธิพลต่อการดำเนินงานของแผนงาน

ที่ UW-Extension ใช้ Logic model ในการวางแผนงาน ลงมือปฏิบัติ ประเมินผล และติดต่อสื่อสาร ยิ่งใช้แผนงานบ่อยเรายิ่งพบว่า Logic model มีประโยชน์ในการอธิบายให้กลุ่มที่ทำงาน ทีมงาน ความร่วมมือกันของชุมชน และความซับซ้อนอื่นๆของกระบวนการที่หามา เพื่อนำมาสนับสนุนผลงาน
การแจกแจงรายละเอียดของ Logic model เคยนำมาใช้ในรูปตารางเหตุผลสัมพันธ์ (Log Frame)
ประมาณปี 1971 และในแบบขั้นตอนแผนงาน (Hierarchy) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ (Bennett, 1976 และต่อมาโดย Rockwell, 1995) ใช้ในการประเมินแผนงานที่เป็นระยะยาวที่ Cooperative Extension และมีการใช้อย่างกว้างขวางทั่วประเทศ Wholey 1979,1987; Mayeske, 1994; Reisman, 1994; United Way,1996; Montague, 1997 และคนอื่นๆอีก Logic model ยังแบ่งแยกกิจกรรม (Activities) ออกตามผลผลิต (Outputs) ซึ่งรวมถึงสิ่งที่มีส่วนร่วมอื่นๆด้วย ซึ่งได้แก่
• เพื่อให้ใช้รูปแบบและภาษาที่ง่าย
• ช่วยในการเน้นที่ผลลัพธ์เปรียบเทียบตามกับผลผลิต
• เพื่อให้เราให้ความสนใจเท่าๆกันในประเด็นสำคัญๆ ของผู้ที่มีส่วนร่วมหรือผู้ที่อ้างถึง ซึ่งเป็นศูนย์กลางของแผนงานและเป้าหมายต่างๆของเรา

ที่ UW-Extension การแจกแจงรายละเอียดของ Logic model ช่วยให้เราสรุปแผนการปฏิบัติงานในรูปแบบตารางมีใช้ในหน่วยงานต่างๆอย่างแพร่หลาย ทรัพยากรต่างๆและการพัฒนามืออาชีพถูกทำขึ้นเพื่อช่วยให้คณะทำงาน บุคลากรและผู้มีส่วนร่วมเข้าใจและใช้ Logic model ให้เป็นไปตามแผน การลงมือทำ การประเมินผลและการติดต่อสื่อสาร