คณะสาธารณสุขศาสตร์

ปัญญาสาธารณสุข เสริมพลัง"ปัญญาของแผ่นดิน" ตามปณิธานของมหาวิทยาลัยมหิดล

วันจันทร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

แนวคิดการประเมินผลโครงการ
การประเมินผลมีหลายประเภท ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ และเป้าประสงค์ที่จะใช้ในการประเมิน โดยพื้นฐานประเภทการประเมินผลขั้นพื้นฐานที่สำคัญที่สุดมีวิธีการต่างกัน 2 วิธี คือ Formative และ Summative Evaluation
“Formative” evaluation” หมายถึง การประเมินผลที่สร้างในขณะที่กำลังมีการดำเนินการอยู่ แล้วนำผลที่ได้มาใช้ในการปรับปรุง (Scriven, 1967; Tessmer, 1993) ส่วน. "Summative evaluation" หมายถึง การประเมินเมื่อเสร็จสิ้นการปฏิบัติงานแล้ว
Formative evaluations ใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาสิ่งที่ถูกประเมิน เป็นการช่วยตรวจสอบผลงานที่ส่งมอบ คุณภาพของการปฏิบัติงาน และการประเมินสภาพในบริบทขององค์การ กิจกรรมการปฏิบัติงานของบุคลากร ปัจจัยนำเข้าต่างๆ ฯลฯ โดยการประเมินแบบ Formative evaluation ไม่ได้ทำ 1 หรือ 2 ครั้งในช่วงของการดำเนินการตามแผนงาน/โครงการเท่านั้น แต่จะทำการประเมินได้หลายขั้นตอน โดยดำเนินการซ้ำแล้วซ้ำอีกในกระบวนการพัฒนา ตรงกันข้ามกันกับ Summative evaluation ซึ่งใช้ในการตรวจสอบผลลัพธ์ หรือประสิทธิผลของสิ่งที่จะประเมิน ผู้ประเมินจะสรุปผลด้วยการอธิบายว่าเกิดอะไรขึ้นบ้างในขั้นตอนต่าง ๆเพื่อส่งมอบงาน หรือเทคโนโลยี วัตถุประสงค์ในการประเมินนี้สามารถบอกถึงเหตุของผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น สามารถบอกถึงปัจจัยเหตุที่เกิดผลกระทบในภาพรวมได้ การประเมินแบบ Summative evaluation ที่ดีควรจะนำสารสนเทศจากการประเมิน Formative evaluation มาใช้ร่วมอธิบายด้วย
Formative evaluation จะรวมวิธีการประเมินไว้หลายประเภท ได้แก่
1.Needs assessment กำหนดว่าใครต้องการโปรแกรมนี้ ความต้องการมีมากน้อยขนาดไหน และอะไรบ้างที่จะทำให้งานเป็นไปตามที่ต้องการ
2.Evaluability assessment กำหนดว่าการประเมินผลมีความเป็นไปได้หรือไม่ และผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียสามารถเข้ามาช่วยจัดการให้งานนั้นเกิดประโยชน์ได้ด้วยวิธีใด
3.Structured conceptualization เป็นการช่วยให้พันธมิตรกำหนดโปรแกรม หรือเทคโนโลยีกำหนดกลุ่มประชากรเป้าหมาย และผลลัพธที่เป็นไปได้ว่าจะเกิดขึ้น
4.Implementation evaluation เป็นการติดตามควบคุมกำกับโปรแกรม หรือเทคโนโลยีที่กำลังดำเนินการ
5.Process evaluation เป็นการสืบสาวราวเรื่องกระบวนการปฏิบัติงานตามโปรแกรม หรือเทคโนโลยี รวมทั้งกิจกรรมการดำเนินการตามทางเลือกต่างๆ ด้วย

Summative evaluation แบ่งออกได้ดังนี้
1.Outcome evaluations เป็นการสืบสาวราวเรื่องโปรแกรม หรือเทคโนโลยีที่แสดงให้เห็นถึงประสิทธิผลอย่างเฉพาะเจาะจง ตามที่กำหนดเป้าหมาย และผลลัพธ์ไว้
2.Impact evaluation เป็นการประเมินในภาพรวมที่กว้างกว่า เป็นผลที่เกิดขึ้นจากโปรแกรม หรือเทคโนโลยีทั้งที่ตั้งใจ และไม่ได้ตั้งใจให้เกิดขึ้นในภาพรวม
3.Cost-effectiveness and cost-benefit analysis เป็นการกำหนดข้อคำถามประสิทธิภาพตามมาตรฐานของผลลัพธ์ ในความหมายของต้นทุน และคุณค่าที่เป็นตัวเงิน
4.Secondary analysis เป็นตวจสอบข้อมูลซ้ำ เพื่อกำหนดข้อคำถามใหม่
5.Meta-analysis เป็นการผสมผสานการประมาณการผลลัพธ์จากการศึกษาที่หลากหลายวิธีการ เพื่อนำไปสู่การตัดสินตามข้อคำถามการประเมินในภาพรวม หรือการสรุปผล
สำหรับการวิจัยครั้งนี้เป็นการประเมินผลแบบสรุปรวม (Summative evaluation) แบบ outcome evaluations
อย่างไรก็ตามการประเมินผลระดับประเทศที่ผ่านมาค่อนข้างจะมีข้อจำกัดต่อโครงการและแผนงาน ขอบเขตของการประเมินจะดำเนินการโดยการประเมินจากเอกสารของโครงการที่สามารถเข้าถึงได้ การเน้นที่ความโปร่งใสมีให้เห็นบ่อยๆ เหมือนกับเป็นการตัดสิน และการนำมาใช้เพื่อการปรับปรุงการปฏิบัติงาน มีการแลกเปลี่ยนบ้างไม่ว่าจะเป็นการค้นพบจากการประเมินหรือการเรียนรู้องค์กร การขอให้มีการประเมินมีแนวโน้มที่สูงขึ้น อัตราการเพิ่มนี้ไม่สามารถส่งเสริมไปในทางเดียวกันได้ในด้านของการประเมิน และความต่อเนื่องของการประเมิน การประเมินจะเป็นประโยชน์เมื่อคำตอบได้เตรียมไว้แล้วเพื่อพบกันครึ่งทาง แต่ไม่บ่อยนักที่ผลกระทบจากบทเรียนจะเพิ่มเข้าไปในการประเมิน การปฏิบัติงานไม่สามารถที่จะดูได้เฉพาะความ สำเร็จตามวัตถุประสงค์ของโครงการ ต่างๆเท่านั้น
การประเมินผลนับเป็นกุญแจสำคัญที่ทำให้มั่นใจได้ว่าโปร่งใส และผลงานที่ออกมานั้นน่าเชื่อถือ และความเที่ยงตรงของรายงาน ด้วยการเตรียมตัวและเป็นตัวของตัวเอง เป็นธรรมชาติ และมุมมองอยู่บนพื้นฐานความเป็นจริง โดยวิเคราะห์ปัญหาเชิงลึกเพื่อช่วยในการตัดสินใจ โดยการสร้างวิสัยทัศน์ใหม่เพื่อที่จะเป็นประโยชน์ในการสร้างฉันทามติ และการเรียนรู้ สำนักงานระดับประเทศคาดหวังในการชักนำให้จำกัดจำนวนของผลลัพธ์ที่จะประเมิน การประเมินปริมาณงานต้องการความเที่ยงตรงของผลลัพธ์อยู่บนพื้นฐานที่เป็นตัวอย่าง การประเมินนี้จะรวมถึงจำนวนของโครงการที่สัมพันธ์กับผลลัพธ์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น