คณะสาธารณสุขศาสตร์

ปัญญาสาธารณสุข เสริมพลัง"ปัญญาของแผ่นดิน" ตามปณิธานของมหาวิทยาลัยมหิดล

วันพฤหัสบดีที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

กว่าจะเป็นวัฒนธรรมมหิดล (Mahidol Culture)



กว่าจะเป็นวัฒนธรรมมหิดล (Mahidol Culture)

เก็บมาเล่า จาก “มหิดลสาร”  จำฉบับที่ไม่ได้

การที่องค์การใดองค์การหนึ่ง จะสามารถพัฒนาองค์การให้เจริญก้าวหน้า และก้าวไปในจุดที่เหมาะสม ที่สำคัญสามารถพัฒนาได้อย่างยั่งยืนนั้น คนในองค์การล้วนแต่มีพฤติกรรมที่ยึดถือร่วมกัน เป็นความนิยมร่วมกันที่สร้างรากฐานจากการปฏิบัติจากคนสู่คน จากกลุ่มสู่กลุ่ม จากสังคมสู่สังคม ค่านิยมเหล่านั้น หากยึดถือเป็นแนวปฏิบัติร่วมกันแสดงออกถึงพฤติกรรมดีๆ ร่วมกันอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ก็อาจจะกล่าวได้ว่าองค์การนั้นมี “วัฒนธรรมองค์การ” ที่เป็นรากฐานของการพัฒนาองค์การสู่ความอยู่รอดอย่างยั่งยืน คนในองค์การแสดงออกถึงพฤติกรรมดีๆ ที่ทำให้อยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุขในการบริหารองค์การ วัฒนธรรมองค์การเป็นเรื่องที่เกือบทุกวงการให้ความสำคัญ รวมทั้งตระหนักที่จะให้มีการเสริมสร้างและกระตุ้นให้คนในองค์การแสดงพฤติกรรมที่สอดคล้องและเหมาะสม มหาวิทยาลัยมหิดลก็เช่นเดียวกัน แม้เราจะเป็นสถาบันการศึกษาที่มีชื่อเสียง มีพัฒนาการความเป็นมาที่ก้าวหน้าอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด แต่หากคนในมหาวิทยาลัยต่างคนต่างแสดงพฤติกรรมตามใจตนเอง โดยไม่ได้คำนึงความอยู่รอดและการทำงานร่วมกันของทุกฝ่ายในมหาวิทยาลัยเป็นสำคัญแล้ว มหาวิทยาลัยก็อาจก้าวไปถึงเป้าหมายที่จะเป็น ๑ ใน ๑๐๐ ได้ยากไปสักหน่อย วัฒนธรรมองค์การ หมายถึงอะไร กว่าจะได้มาซึ่ง MAHIDOL นั้น

ที่มาที่ไปเป็นอย่างไร และ MAHIDOL หมายถึงอะไรบ้าง ผู้เขียนจะกล่าวให้ทราบเป็นลำดับต่อไปวัฒนธรรมองค์การ หมายถึง ค่านิยมหรือความเชื่อที่องค์การยึดถือ อันเป็นกรอบกำหนดการกระทำและพฤติกรรม รวมทั้งมีอิทธิพลต่อความสัมพันธ์ของคน ในองค์กรสำหรับมหาวิทยาลัยมหิดล วัฒนธรรมมหิดล MAHIDOL ได้มาจากการประชุมระดมสมองร่วมกันของผู้บริหารมหาวิทยาลัย (อธิการบดี+ รองอธิการบดี) ผู้บริหารส่วนงาน (คณบดี + ผู้อำนวยการส่วนงาน) และผู้อำนวยการกอง (ในสังกัดสำนักงานอธิการบดี) เมื่อครั้งที่มีการประชุมแผนกำหนดแผนยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย รวมทั้งได้มีการประชุมทบทวน หารือกันอีกหลายครั้งจนได้กำหนดคำว่า MAHIDOL ออกมาเป็นวัฒนธรรมมหิดล ความหมายของตัวอักษรแต่ละตัวเชื่อมโยงและสะท้อนความเป็น Role Model ของสมเด็จพระบรมราชชนก ด้วยประโยคของพระองค์ที่พระราชทานไว้ว่า

“ขอให้ถือผลประโยชน์ส่วนตัวเปนที่สอง ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เปนกิจที่หนึ่ง ลาภทรัพย์และเกียรติยศจะตกมาแก่ท่าน ถ้าท่านทรงธรรมะแห่งอาชีพไว้ให้บริสุทธิ์”

เมื่อได้กำหนดวัฒนธรรมมหิดล โดยใช้คำว่า MAHIDOL และได้ความหมายของวัฒนธรรมแต่ละตัวแล้วนั้น กองทรัพยากรบุคคลในฐานะหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบด้านการเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์การของมหาวิทยาลัย จึงได้นำแนวทางซึ่งผู้บริหารได้กำหนดไว้มาลงในแนวปฏิบัติเพื่อให้เข้าถึงและเข้าใจพฤติกรรมที่เชื่อมโยงกับวัฒนธรรมมหิดลแต่ละวัฒนธรรม โดยเริ่มจาก การสร้างต้นแบบหรือผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อเสริมสร้างวัฒนธรรมมหิดล หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าทูตวัฒนธรรมนั่นเองเรา (ฑูตวัฒนธรรม รุ่นแรก) เริ่มงานจากการนำสิ่งที่ผู้บริหารได้ให้แนวทางไว้มาทำให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น โดยเริ่มจากการพิจารณาและตีความคำว่า MAHIDOL ตามความหมายที่กำหนดไว้ ดังรายละเอียด

M Mastery เป็นนายแห่งตน

A Altruism มุ่งผลเพื่อผู้อื่น

H Harmony กลมกลืนกับสรรพสิ่ง

I Integrity มั่นคงยิ่งในคุณธรรม

D Determination แน่วแน่ทำกล้าตัดสินใจ

O Originality สร้างสรรค์สิ่งใหม่

L Leadership ใฝ่ใจเป็นผู้นำ

ออกเป็นพฤติกรรมที่พึงประสงค์ และพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์จากนั้นจะเข้าสู่กระบวนการสังเคราะห์เฉพาะพฤติกรรมที่พึงประสงค์ที่ต้องการให้คนมหิดลแสดงออกถึงพฤติกรรมที่พึงประสงค์ ที่สอดคล้องกับวัฒน ธรรมมหิดล ทั้ง ๗ ตัว ซึ่งกระบวนการสังเคราะห์ทำให้เราได้ พฤติกรรมที่พึงประสงค์ทั้งหมด ๒๓ พฤติกรรม ดังนี้

M Mastery เป็นนายแห่งตน ประกอบด้วย

Self Directed มีสติ ควบคุมดูแลตนเองได้ สร้างวินัยในการดำเนินชีวิต ควบคุมจิตใจ และอารมณ์ให้ทำในสิ่งที่ถูกที่ควร ไม่ต้องให้ใครบังคับ

Personal Learning รักการเรียนรู้ขวนขวายศึกษาหาความรู้เพื่อพัฒนาตนเอง ให้รู้แจ้งรู้จริง อย่างสม่ำเสมอ และนำความรู้ใหม่ๆมาประยุกต์ปรับปรุงงาน

Agility กระตือรือร้น ว่องไว กระฉับกระเฉง สนใจวิทยาการ และการเปลี่ยนแปลง ที่เกิดขึ้นคิดไตร่ตรอง และนำเสนอแนวทางใหม่ที่เฉียบคมเหมาะสม

System Perspective คิด พูด ทำ อย่างเป็นระบบมีขั้นตอนอธิบายที่มาที่ไปสมเหตุสมผล ตรวจสอบได้

A Altruism มุ่งผลเพื่อผู้อื่น ประกอบด้วย

Organization First รัก หวงแหน และปกป้องชื่อเสียงของมหิดลเมื่อต้องตัดสินใจ จะยึดประโยชน์ของส่วนรวม และองค์กรเหนือประโยชน์ของตนเอง พร้อมเสียสละเวลา และ ความสุขส่วนตัวเพื่อส่วนรวม

Customer Focus Driven สนใจ เข้าใจ ความต้องการของ “ผู้รับบริการ” และหาวิธีตอบสนองด้วยความรวดเร็ว ให้เกิดความพึงพอใจและ สร้างความประทับใจด้วยบริการ และผลงานที่มีคุณภาพ ด้วยความเต็มใจ

Societal Responsibility ตระหนักและลงมือดูแล และรักษาผลประโยชน์ของส่วนรวม และสังคมเสมือนของตนเอง

H Harmony กลมกลืนกับสรรพสิ่ง ประกอบด้วย

Valuing Workforce Member เคารพ ให้เกียรติผู้ร่วมงาน โดยเปิดรับฟังความคิดเห็น สื่อสารให้มีส่วนรวม และสร้างความผูกพัน ไม่อคติ และ รักษาศักดิ์ศรี หน้าตาของผู้ร่วมงาน

Empathy ใส่ใจความรู้สึก ทุกข์สุขของผู้อื่นรอบตัว ร่วมดีใจ หรือให้กำลังใจ ชมเชย ยกย่อง รวมถึงแนะนำอย่างสร้างสรรค์จริงใจ

Unity มีน้ำใจ ร่วมมือ ร่วมแรงร่วมใจ อาสาเข้าช่วยเหลือด้วยความเต็มใจ ยืดหยุ่น ผ่อนปรน ประนีประนอม ทำให้ภารกิจสำเร็จลุล่วงด้วยความสามัคคี ปรองดอง

Synergy ผนึกพลัง ประสานความแตกต่าง (เพศ วัย ความรู้) ให้เกิดความกลมกลืน ในจุดเด่นของทุกคนสร้างผลงานให้เหนือความคาดหมาย

I Integrity มั่นคงยิ่งในคุณธรรม ประกอบด้วย

Truthfulness ซื่อตรง ตรงไปตรงมา ไม่หลอกลวงทั้งต่อตนเองและผู้อื่น คิด ไตร่ตรอง ก่อนพูดยึดมั่นรักษาคำพูดอย่างมั่นคงเสมอต้นเสมอปลาย

Moral & Ethic ตั้งมั่นในความถูกต้อง โปร่งใส ไม่มีอคติ วาระซ่อนเร้น ถือมั่นในกรอบของจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ ไม่บิดเบือนเพื่อประโยชน์ผู้ใด

Management by Fact รวบรวม วิเคราะห์ ตรวจสอบข้อเท็จจริงประกอบการคิดพิจารณาและลงมือดำเนินการตามข้อเท็จจริง โดยหลีกเลี่ยงการอนุมาน

D Determination แน่วแน่ทำกล้าตัดสินใจ ประกอบด้วย

Commitment & Faith รักและมีศรัทธาในงาน มุ่งมั่น ทุ่มเททำงานที่ได้รับมอบหมาย หรือรับปากด้วยความจริงจัง จนเรียบร้อยตามกำหนดทุกครั้ง โดยไม่ต้องติดตามทวงถาม

Perseverance ตั้งใจ มานะ อดทน พากเพียร ด้วยความมั่นคงทั้งทางจิตใจ และร่างกายโดยไม่ท้อถอย เบื่อหน่ายหรือล้มเลิกความตั้งใจต่ออุปสรรคและความยากลำบาก

Achievement Oriented & Creating Value มุ่งสู่เป้าหมายความสำเร็จของงานที่รับผิดชอบ โดยถือเอาคุณภาพและมาตรฐานเป็นพื้นฐาน ใช้ความหมั่นเพียร และละเอียดรอบคอบในทุกขั้นตอน เพื่อสร้างคุณค่าเพิ่มให้แก่ง

O Originality สร้างสรรค์สิ่งใหม่ ประกอบด้วย

Courageous to be the Best กล้าคิด ริเริ่ม เสนอแนะ โดยมุ่งให้ได้ผลงานอันเป็นเลิศ เกินมาตรฐานหรือเป้าหมาย แม้ต้องทำงานละเอียดขึ้น หนักขึ้นบ้างก็ตาม

Driving into the Future กำหนดเป้าหมายในอนาคตที่ท้าทาย และ ดีกว่าที่ทำได้ในปัจจุบัน แก้ไข ปรับปรุง พัฒนาอย่างสม่ำเสมอ ให้บรรลุเป้าหมายนั้น

Novelty & Innovation คิดริเริ่ม สร้างสรรค์ ปรับปรุง วิธีการใหม่ๆ หรือสร้างผลงานวิจัยที่แตกต่างโดดเด่น ช่วยให้การทำงานดีขึ้น หรือชี้นำสังคม

L Leadership ใฝ่ใจเป็นผู้นำประกอบด้วย

Calm & Certain จิตใจสงบ หนักแน่น และมั่นคง ทั้งในภาวะปกติและวิกฤติยากลำบาก ไม่ประหม่า ตื่นเต้น หรือเกรี้ยวกราด รวมทั้ง ฟัง รวบรวมข้อมูล ไตร่ตรองด้วยความรอบคอบก่อนดำเนินการ

Influencing People สามารถใช้เหตุใช้ผล ประกอบกับวาทศิลป์ ในการโน้มน้าว จูงใจ สื่อสาร ให้ผู้เกี่ยวข้องเข้าใจ รวมถึงเป็นแบบอย่างที่ดี เพื่อให้ผู้อื่นเห็นด้วยและปฏิบัติตาม

Visioning ประมวลสถานการณ์ และข้อมูลปัจจุบันและอดีต นำมากำหนดภาพอนาคต หรือเป้าหมายที่ต้องการได้อย่างสมเหตุสมผล และท้าทาย

ได้ทำความรู้จักกับวัฒนธรรมมหิดลทั้ง ๗ วัฒนธรรม ๒๓ พฤติกรรมกันไปแล้ว หากเราชาวมหิดลทุกคนสามารถแสดงพฤติกรรมที่พึงประสงค์ทั้ง ๒๓ พฤติกรรม ประโยชน์ที่จะเกิดกับมหาวิทยาลัยมหิดล ไม่เพียงแต่ทำให้ชาวมหิดลสามารถปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว (Be adaptable to change) และมหาวิทยาลัยประสบความสำเร็จและรุ่งเรือง (Ensuring future prosperity and success) แล้ว มหาวิทยาลัยมหิดลจะเป็นที่ทำงานแสนสุข (Happy workplace) ที่ใครๆก็อยากเข้ามาทำงานได้รู้จักวัฒนธรรมมหิดลกันพอหอมปากหอมคอ


________________________________________

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น