คณะสาธารณสุขศาสตร์

ปัญญาสาธารณสุข เสริมพลัง"ปัญญาของแผ่นดิน" ตามปณิธานของมหาวิทยาลัยมหิดล

วันจันทร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

Logic Model : ตอนที่ 1

Logic Models


Logic models มีอยู่ 2 ชนิด คือ ทฤษฎีตัวแบบการเปลี่ยนแปลง (Theory of change model) และโปรแกรมตัวแบบ (Program logic model)

ส่วนมากเมื่อได้รับการมอบหมายงาน เราย่อมต้องการได้รับผลลัพธ์ที่ต้องการ บางครั้งเมื่อคุณต้องออกแบบโปรแกรมใหม่ๆ เป็นผู้นำให้โครงการเปลี่ยนแปลงหรือวางแผนในการประเมินผลฉบับร่างที่เขียนบรรยายเพื่อส่งต่อ คุณมีความรู้สึกว่าโครงการกระจัดกระจาย หรือไม่เท่าเทียมกันหรือไม่ หากคุณคิดว่า คุณคิดว่าจะเริ่มต้นที่ไหนดี? Logic models สร้างตัวแบบขึ้นมาเพื่อสามารถนำมาใช้แก้ไขความสับสนได้ Logic models จะเพิ่มความเข้าใจของคุณเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรมและผลลัพธ์

แนวคิดพื้นฐาน

ตัวแบบและการสร้างตัวแบบ (Model and Modeling)

Logic models ช่วยในการออกแบบ การวางแผน การติดต่อสื่อสาร การประเมินผล และการเรียนรู้ Logic models ถูกใช้บ่อยในการอธิบายแนวคิด, แก้ไขความเสี่ยง หรือการประเมินความก้าวหน้า ทำให้ไม่เกิดความยุ่งยากและทำให้เข้าใจความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนในส่วนประกอบต่างๆ ได้

Logic models เป็นกราฟฟิคที่ใช้ในการจัดระเบียบข้อมูลและแสดงให้เห็นถึงความคิด ทำให้มองเห็นแผนที่ที่ชัดแจ้งภายในจิตใจ เกี่ยวกับว่า จะมีวิธีการใดบ้างในการทำงาน หรือจะทำงานอย่างไร Logic models เป็นเครื่องมือที่ทำให้เกิดแผนงาน โปรแกรมหรือโครงการอย่างย่อๆ ในรูปแบบที่สามารถมองเห็นได้ สามารถอธิบายถึงแผนการปฏิบัติงานและผลลัพธ์ที่คาดหวังไว้ ตัวแบบเป็นภาพของความคิดในแต่ละบุคคลหรือกลุ่มคน เกี่ยวกับแนวความคิดหรือโปรแกรมที่จะใช้ในการทำงาน

การสร้างตัวแบบเป็นเทคนิค ซึ่งในกระบวนการของการสร้างตัวแบบจะช่วยให้เกิดการพัฒนาแนวความคิด, โปรแกรมหรือโครงการมันสามารถสร้างช่องทางในการอภิปราย, ทำให้เกิดความคิด, ช่วยให้เกิดการไตร่ตรอง และมีความคิดที่ชัดเจนมากขึ้นเกี่ยวกับความสัมพันธ์ต่างๆ ผลสะท้อนจากการเชื่อมโยงโดยใช้ความเป็นเหตุเป็นผล ทำให้เกิดสายโซ่แห่งเหตุผลเชื่อมต่อกัน การออกแบบ, การวางแผน, การปฏิบัติงาน และการประเมินผล ซึ่งสายโซ่นี้จะเป็นข้อมูลพื้นฐานแห่งเหตุผลและผลในการวิเคราะห์โปรแกรม และประสิทธิผลขององค์กร

การสร้างตัวแบบ ทำให้เกิดการพิจารณาอย่างรอบคอบ เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำที่มีต่อผลลัพธ์ เมื่อมีการจัดการโดยทีมหรือกลุ่มย่อยของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ตัวแบบสามารถปรับปรุงได้โดยใช้ความรู้และประสบการณ์ มีการสร้างตัวแบบไปใช้ประโยชน์ค่อนข้างน้อย การแลกเปลี่ยนความเข้าใจและความหมายของผู้ร่วมงานในการผลิตผลงาน จะทำให้เกิดคุณค่าและทำให้เกิดความสำเร็จในขั้นตอนของการปฏิบัติงาน และตามมาด้วยการประเมินผล ต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น