คณะสาธารณสุขศาสตร์

ปัญญาสาธารณสุข เสริมพลัง"ปัญญาของแผ่นดิน" ตามปณิธานของมหาวิทยาลัยมหิดล

วันเสาร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

Situational Leadership : Hershey & Blanchard














ทฤษฎีภาวะผู้นำตามสถานการณ์ Paul Hersey และ Kenneth H. Blanchard

ทฤษฎีภาวะผู้นำตามสถานการณ์ ได้รับการพัฒนาอันเนื่องมาจากการวิจัยอย่างกว้างขวาง ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อนักบริหารทั้งหลายในการวิเคราะห์ความต้องการของสถานการณ์ ทฤษฎีนี้ตั้งอยู่บนพื้นฐานขององค์ประกอบ 3 ประการ คือ
1.จำนวนปริมาณของคำสั่ง (พฤติกรรมด้านงาน) ที่ผู้นำแสดงออกในแต่ละสถานการณ์ เป็นขั้นตอนพฤติกรรมที่ผู้นำเข้าไปเกี่ยวข้องด้วยการสื่อความหมายทางเดียว โดยอธิบายว่า อะไรที่ผู้ตามจะกระทำ จะทำเมื่อไร ทำที่ไหน และทำอย่างไร เพื่อให้งานในหน้าที่ได้รับผลสำเร็จ
2.จำนวนปริมาณของการสนับสนุนทางอารมณ์สังคม (พฤติกรรมด้านมนุษยสัมพันธ์) ที่ผู้นำกำหนดในแต่ละสถานการณ์ เป็นขั้นพฤติกรรมที่ผู้นำเข้าไปเกี่ยวข้องด้วยการสื่อความหมายสองทาง โดยการให้การสนับสนุนด้านอารมณ์สังคม การให้กำลังใจ การจูงใจ และพฤติกรรมที่เอื้ออำนวยความสะดวกต่าง ๆ
3.ระดับความพร้อม ของผู้ตามหรือกลุ่มที่แสดงออกในการปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมาย บทบาทหน้าที่ ความรับผิดชอบ หรือวัตถุประสงค์ ซึ่งผู้นำพยายามให้ผู้ตามกระทำให้สำเร็จ
มโนทัศน์นี้ได้พัฒนาเพื่อช่วยให้ผู้ที่แสดงภาวะผู้นำในการติดต่อประจำวันกับผู้อื่น ให้มีประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น โดยไม่คำนึงว่าบทบาทของเขาเป็นอย่างไร ช่วยให้ผู้นำมีความเข้าใจเกี่ยวกับสัมพันธภาพระหว่างสไตล์ภาวะผู้นำที่มีประสิทธิผล และระดับวุฒิภาวะของผู้ตาม

แบบภาวะผู้นำแต่ละแบบทั้ง 4 แบบ คือ การบอกกล่าว (Telling) การขายความคิด (Selling) การมีส่วนร่วม (Participating) และการมอบอำนาจ (Delegating)  แต่ละแบบเป็นการผสมผสานระหว่างพฤติกรรมด้านงานและพฤติกรรมด้านมนุษยสัมพันธ์ ได้กล่าวมาแล้วว่า พฤติกรรมด้านงาน เป็นขีดขั้นพฤติกรรมที่ผู้นำกำหนดทิศทางของผู้ตาม ด้วยการบอกผู้ตามว่าทำอะไร ทำเมื่อไร ทำที่ไหน และทำอย่างไร หมายถึงว่า ผู้นำวางเป้าหมายสำหรับผู้ตาม และอธิบายบทบาทของพวกเขา

พฤติกรรมด้านมนุษยสัมพันธ์เป็นขั้นพฤติกรรมที่ผู้นำเข้าไปเกี่ยวข้องด้วยการสื่อสารความหมายสองทางกับผู้ตาม ให้การสนับสนุนด้านอารมณ์ สังคม กำลังใจ และพฤติกรรมที่เอื้ออำนวยความสะดวกต่าง ๆ หมายถึงว่า ผู้นำรับฟังความเห็นของผู้ตามอย่างกระตือรือร้น และสนับสนุนความพยายามของเขา

ความพร้อมของผู้ตามเป็นเรื่องของระดับขีดขั้น ความพร้อมเป็นแกนต่อเนื่องแบ่งออกเป็น 4 ระดับ คือ ต่ำ (R1) ต่ำถึงปานกลาง (R2) ปานกลางถึงสูง (R3) และสูง (R4)

แบบภาวะผู้นำที่เหมาะสมสำหรับความพร้อมทั้ง 4 ระดับนั้น จะเป็นการผสมผสานที่ถูกต้องระหว่าง พฤติกรรมด้านงาน (คำแนะนำ) และพฤติกรรมด้านมนุษยสัมพันธ์(การสนับสนุน)“การบอกกล่าว” สำหรับความพร้อมต่ำ(Telling is for Low Readiness)

บุคคลผู้ซึ่งไม่สามารถและไม่เต็มใจ (R1) ที่จะมีความรับผิดชอบในงาน เป็นผู้ที่ไม่มีความสามารถเพียงพอ และไม่มั่นใจ มีกรณีต่าง ๆ หลายกรณีที่ความไม่เต็มใจของพบวกเขา เป็นผลมาจากความไม่มั่นใจเกี่ยวกับงานที่จะต้องปฏิบัติ ฉะนั้น แบบของกรสั่ง (s1) ที่อธิบายชัดเจนเกี่ยวกับคำแนะนำต่าง ๆ และการควบคุมคณะบุคคลในระดับความพร้อมนี้ มีความน่าจะเป็นไปได้ด้านประสิทธิผลในระดับสูงสุด สไตล์นี้เรียกว่า “การบอกกล่าว” เพราะเป็นลักษณะที่ผู้นำชี้แจงบทบาท และสั่งผู้ตามว่าให้ทำงานอะไร อย่างไร เมื่อไร และที่ไหน เน้นหนักในด้านพฤติกรรมที่ให้คำแนะนำพฤติกรรมที่สนับสนุนอารมณ์สังคมมากเกินไป สำหรับผู้ที่มีความพร้อมระดับนี้ อาจจะมองเป็นการปล่อยมักง่าย และที่สำคัญคือ เป็นรางวัลสำหรับการปฏิบัติงานที่เลว สไตล์นี้ประกอบด้วยพฤติกรรมด้านงานสูง และพฤติกรรมด้านมนุษยสัมพันธ์ “การขายความคิด” สำหรับความพร้อมต่ำถึงปานกลาง (Selling is for Low to Moderate Readiness)

บุคคลผู้ซึ่งไม่สามารถแต่เต็มใจ (R2) ที่จะมีความรับผิดชอบในงาน เป็นผู้ที่มั่นใจ แต่ขาดความชำนาญในขณะนั้น ดังนั้น สไตล์ “การขายความคิด” (s2) ยังกำหนดพฤติกรรมที่ให้คำแนะนำอยู่ เพราะยังขาดความสามารถ แต่บุคคลที่มีความพร้อมระดับนี้ พฤติกรรมด้านสนับสนุนทางอารมณ์สังคม เพื่อเพิ่มพลังความเต็มใจ และความกระตือรือร้นด้วยนั้น ดูเหมือนจะเหมาะสมมากที่สุด สไตล์นี้เรียกว่า “การขายความคิด” เพราะคำแนะนำ คำสั่งต่าง ๆ ยังมาจากผู้นำ ผู้นำพยายามใช้การสื่อสารสองทาง มีการอธิบาย การรับฟังอย่างสนใจ ให้การสนับสนุนทางอารมณ์ สังคม การให้กำลังใจ ใช้วิธีการทางจิตวิทยา ให้ผู้ตามเห็นด้วยกับการตัดสินใจของผู้นำ ผู้ตามที่มีความพร้อมในระดับนี้ ตามปกติแล้วจะเห็นด้วยกับการตัดสินใจของผู้นำ ถ้าพวกเขาเข้าใจถึงเหตุผลสำหรับการตัดสินใจนั้น และถ้าผู้นำเสนอให้การช่วยเหลือและคำแนะนำด้วย สไตล์นี้ประกอบด้วยพฤติกรมด้านงานสูง และพฤติกรมด้านมนุษยสัมพันธ์สูง“การมีส่วนร่วม” สำหรับความพร้อมปานกลางถึงสูง (Participating is for Moderate High Readiness)

บุคคลผู้มีความพร้อมในระดับนี้มีความสามารถ แต่ไม่เต็มใจ (R3) ที่จะทำงานตามที่ผู้นำต้องการ ความไม่เต็มใจของเขามีอยู่บ่อยที่เนื่องมาจากขาดความมั่นใจหรือขาดความมั่นคง อย่างไรก็ตาม ถ้าหากว่าเขามีความสามารถพอแต่ไม่เต็มใจแล้ว ความไม่สนใจที่จะปฏิบัติงาน เกิดจากปัญหาการจูงใจมากกว่าปัญหาความมั่นคง กรณีเช่นนี้ ผู้นำจำต้องมีนโยบายเปิดประตู คือ ด้วยการสื่อสารสองทางและรับฟังอย่างสนใจ เพื่อสนับสนุนผู้ตามให้พยายามใช้ความสามารถที่มีอยู่ ดังนั้นสไตล์ “การมีส่วนร่วม” (s3) ซึ่งเป็นสไตล์การสนับสนุน ไม่ออกคำสั่ง สำหรับคณะบุคคลที่มีความพร้อมระดับนี้ ความน่าจะเป็นไปได้ด้านประสิทธิผลอยู่ในระดับสูงสุด สไตล์นี้เรียกว่า “การมีส่วนร่วม” เพราะผู้นำและผู้ตามร่วมกันในการตัดสินใจ โดยบทบาทหลักของผู้นำนั้น ช่วยอำนวยความสะดวก และการติดต่อสื่อสาร สไตล์นี้ประกอบด้วยพฤติกรรมด้านมนุษยสัมพันธ์สูง และพฤติกรรมด้านงานต่ำ “การมอบอำนาจ” สำหรับความพร้อมสูง (Delegating is for High Readiness)

บุคคลผู้มีความพร้อมในระดับนี้ สามารถและเต็มใจ หรือมั่นใจที่จะรับผิดชอบ ดังนั้นรูปแบบการมอง (s4) ซึ่งกำหนดคำแนะนำและการสนับสนุนเล็ก ๆ น้อย ๆ สำหรับคณะบุคคลที่มีความพร้อมระดับนี้ ความน่าจะเป็นไปได้ด้านประสิทธิผลอยู่ในระดับสูงสุด ถึงแม้ว่าผู้นำยังชี้แจงให้ผู้ตามที่มีความพร้อมในระดับนี้เข้าใจถึงปัญหา ความรับผิดชอบสำหรับการปฏิบัติตามแผนให้สำเร็จก็ตามแต่ผู้ตามก็ได้รับอนุญาตให้ดำเนินการแสดงเอง และตัดสินใจเกี่ยวกับเรื่อง ปฏิบัติอย่างไร ปฏิบัติเมื่อไร และปฏิบัติที่ไหนได้เอง ขณะเดียวกัน ผู้ตามเหล่านี้บรรลุความพร้อมด้านจิตวิทยา ฉะนั้นไม่จำเป็นต้องมีการสื่อสารสองทาง หรือมีพฤติกรรมด้านสนับสนุน สไตล์นี้ประกอบด้วยพฤติกรรมด้านงานต่ำ

เป็นที่ประจักษ์อย่างแจ้งชัดว่า แบบภาวะผู้นำที่เหมาะสมกับความพร้อมของผู้ตามที่กำหนดไว้ทั้ง 4 แบบนั้น เป็นดังนี้

ความพร้อมต่ำ (R1) สอดคล้องกับสไตล์ภาวะผู้นำ “การบอกกล่าว” Telling (s1)
ความพร้อมต่ำถึงปานกลาง (R2) สอดคล้องกับสไตล์ภาวะผู้นำ “การขายความคิด” Selling (s2)
ความพร้อมปานกลางถึงสูง (R3) สอดคล้องกับสไตล์ภาวะผู้นำ “การมีส่วนร่วม” Participating (s3)
ความพร้อมสูง (R4) สอดคล้องกับสไตล์ภาวะผู้นำ “การมอบอำนาจ” Delegating (s4)

นั่นคือ ความพร้อมต่ำต้องการสไตล์การบอกกล่าว   ความพร้อมต่ำถึงปานกลางต้องการสไตล์การขายความคิด   ความพร้อมปานกลางถึงสูงต้องการสไตล์การมีส่วนร่วม   และความพร้อมสูงต้องการสไตล์การมอบอำนาจ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น